สาระ

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์

2. ซอฟแวร์ (Software) คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อกำหนดให้ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ โดยซอฟแวร์ตัวหนึ่ง ๆ อาจจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรม เกี่ยวเนื่องและตัวโปรแกรมต้องประกอบด้วย คำสั่งที่จะสั่งให้ส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์ทำงาน

3. บุคลากร (Peopleware) การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีบุคลากร ในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ และจัดทำโปรแกรมซึ่งแบ่งออกได้เป็น
1) พนักงานเตรียมข้อมูล (data entry operator) ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลลงในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น บัตรเจาะรู เทปแม่เหล็ก ฯลฯ
2) พนักงานควบคุมคอมพิวเตอร์ (computer operator) ทำหน้าที่บรรจุโปรแกรมและข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เตรียมและติดตั้งอุปกรณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบ/แก้ไข การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
3) นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (programmer) เขียนโปรแกรมที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ
4) นักวิเคราะห์ระบบ (systerm analysis) มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบงานที่จะนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้

ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1.ประเภทการฝึกหัด (Drill and Practive)วัตถุประสงค์คือ ฝึกความแม่นยำ หลังจากที่เรียนเนื้อหาจากในห้องเรียนมาแล้ว โปรแกรมจะไม่เสนอเนื้อหา แต่ใช้วิธีสุ่มคำถามที่นำมาจากคลังข้อสอบ มีการเสนอคำถามซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อวัดความรู้จริง มิใช่การเดา จากนั้นก็จะประเมินผล

2.ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation)เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลอง ที่มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง เพื่อฝึกทักษะและเรียนรู้ โดยไม่ต้องเสี่ยงหรือเสียค่าใช้จ่ายมาก มักเป็นโปรแกรมสาธิต(Demostration) เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงทักษะที่จำเป็น

3.ประเภทเกมการสอน (Instruction Games)ประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน มีการแข่งขัน เราสามารถใช้เกมในการสอน และเป็นสื่อที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ ในแง่ของกระบวนการ ทัศนคติ ตลอดจนทักษะต่างๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้มากขึ้นด้วย

4.ประเภทการค้นพบ (Discovery)เพื่อให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสทดลองกระทำสิ่งต่างๆ ก่อน จนกระทั่งสามารถหาข้อสรุปได้ด้วยตนเอง โปรแกรมจะเสนอปัญหาให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูก และให้ข้อมูลแก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการค้นพบนั้น จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด

5.ประเภทการแก้ปัญหา (Problem-Solving)เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักการคิด การตัดสินใจ โดยจะมีเกณฑ์ ที่กำหนดให้แล้วผู้เรียนพิจารณาตามเกณฑ์นั้นๆ6.ประเภทเพื่อการทดสอบ (Test)ประเภทนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสอน แต่เพื่อใช้ประเมินการสอนของครู หรือการเรียนของนักเรียน คอมพิวเตอร์จะประเมินผลในทันที ว่านักเรียนสอบได้หรือสอบตก และจะอยู่ในลำดับที่เท่าไร ได้ผลการสอบกี่เปอร์เซ็นต์
ข้อดี ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1) ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนช้าหรือเร็วได้ ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนรายบุคคลที่ดียิ่ง ดังนั้นผู้เรียนจะใช้เวลาเรียนแตกต่างกัน ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน

2) ไม่จำกัดสถานที่เรียน ผู้เรียนไม่จำเป็นจะต้องมายังสถานศึกษา ผู้เรียนอาจจะเรียนอยู่กับบ้านผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้

3) สามารถเรียนจากสื่อประสม (Multi media) ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนสามารถอ่านข้อความ ดูรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว (animation) วีดิทัศน์ (Video) และฟังเสียงได้

4) การทราบผลการเรียนทันที คอมพิวเตอร์สามารถแจ้งและบันทึกผลการปฏิบัติได้ทันที ทำให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจของตนเองว่าถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ข้อจำกัดของ CAI ในการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนนั้น
มีข้อจำกัดบางประการ ทำให้เกิดปัญหาในการนำมาใช้ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

1) ขาดซอฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ เนื่องจากการผลิตซอฟแวร์บทเรียนที่เหมาะสมและมีคุณภาพจำเป็นต้องอาศัยทั้งโปรแกรมเมอร์ นักเทคโนโลยีการศึกษา และนักประเมินผลดังนั้นบทเรียนที่มีอยู่โดยทั่วไปจึงด้อยคุณภาพ ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียนแก่ผู้เรียน

2) ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรม ดังนั้น จึงขาดบุคลากรที่มีความรู้ทั้งการใช้ การผลิตซอฟแวร์ ตลอดจนผู้วางระบบการใช้งานของคอมพิวเตอร์ทำให้ภาพที่ใช้ไม่เหมาะสมกับการเรียนการสอน

3) ครุภัณฑ์มีราคาสูง แม้จะมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ไปอย่างมากจนทำให้ราคาต่ำลงกว่าเมื่อหลายปีที่ผ่านมาแต่ราคาก็ยังคงสูง และค่าบำรุงรักษาค่อนข้างแพง ดังนั้นสถานศึกษาโดยทั่วไปจึงยังคงมีปัญหา

4)ใช้วิธีการเร้าความสนุกมากเกินไป ซึ่งบทเรียนบางบทเรียนที่เน้นความสนุก โดยนำเข้าไปแทรกในบทเรียน บางทีอาจจะไม่มีสาระต่อการเรียนรู้ก็ได้
5)การออกแบบโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอนนั้น ยังพัฒนาไปได้ไม่มากนัก เมื่อเทียนกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ และยังไม่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
6)เนื้อหาไม่ตรงกับสาระวิชาหรือหลักสูตร ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แท้จริง ที่จะสามารถนำมาสอนได้
7) การที่จะให้ครูผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา ความชำนาญและความสามารถเป็นพิเศษ ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของครูผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
8) ผู้เรียนบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
9)โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมาก ไม่มีความเป็นธรรมชาติเหมือนอยู่ในห้องเรียน
การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ควรมีลักษณะการนำเสนอเป็นตอน ตอนสั้นๆ ที่เรียกว่า เฟรม หรือ กรอบ เรียงลำดับไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง (Self Learning) และควรจัดทำปุ่มควบคุม หรือรายการควบคุมการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น มีส่วนที่เป็นบททบทวน หรือแบบฝึกปฏิบัติ แบบทดสอบ หลังจากที่มีการนำเสนอไปแต่ละตอน หรือแต่ละช่วง ควรตั้งคำถาม เพื่อเป็นการทบทวน หรือเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ในเนื้อหาใหม่ที่นำเสนอแก่ผู้เรียน สำหรับการตอบสนองต่อการตอบคำถาม ควรใช้เสียง หรือคำบรรยาย หรือภาพกราฟิก เพื่อสร้างแรงจูงใจ ความมั่นใจในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเนื้อหาสำหรับเด็กเล็ก นอกจากนี้ควรมีส่วนที่เสริมความเข้าใจ ในกรณีที่ผู้เรียนตอบคำถามผิด ไม่ควรข้ามเนื้อหา โดยไม่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่องเวลาในการเรียน ควรให้อิสระต่อผู้เรียน ไม่ควรจำกัดเวลา เพื่อเปิดโอกาสให้เรียนตามความต้องการของผู้เรียนเอง เนื้อหาบทเรียนควรมีทางเลือกหลากหลาย เช่น ถ้าผู้เรียนรับรู้ได้เร็ว ก็สามารถข้ามเนื้อหาบางช่วงได้ เป็นต้น

ขั้นตอนการออกแบบการสอนในคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ประกอบไปด้วย 9 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. ดึงดูดความสนใจ เป็นการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียน
ขั้นตอนที่ 2. บอกวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึงเป้าหมายในการเรียนโดยรวม
ขั้นตอนที่ 3. ทบทวนความรู้เดิม
ขั้นตอนที่ 4. การเสนอเนื้อหาใหม่ เพื่อช่วยให้การรับรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 5. ชี้แนวทางในการเรียนรู้ ใช้การสอนแบบค้นพบ หรือการสอนแบบอุปมา ถือได้ว่าเป็นการชี้แนวทางการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนพยายามวิเคราะห์หาคำตอบได้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 6. กระตุ้นการตอบสนอง ออกมาในรูปของกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการคิด และปฏิบัติในเชิงโต้ตอบ
ขั้นตอนที่ 7. ให้ผลป้อนกลับ คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนเกี่ยวกับความถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 8. ทดสอบความรู้ เป็นการประเมินว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายหรือไม่
ขั้นตอนที่ 9. การจำและนำไปใช้
การใช้และการประเมินผลการประยุกต์

การคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้งาน สามารถกระทำได้หลายลักษณะ ได้แก่

1. ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม

2. ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น

3. ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร

4. เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่

5. เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน

6. เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน สร้างมาตรฐานการสอน

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคออธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน
2. การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบ ตั้งแต่แบบง่ายๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct To Home : DTH )
3. เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่ายสคูลเน็ต (School Net)
4. การใช้งานห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่ง ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการให้การบริการในลักษณะเครือข่าย เช่น โครงการ PULINET (Provincial University Network) และโครงการ THAILINET (Thai Library Network) การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากขึ้น เช่น บริการยืมคืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุมการทดลอง ซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน ต่างผนวกความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปด้วยแทบทั้งสิ้น
6.การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กาแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือ ข้อมูลครู ซึ่งการมีข้อมูลดังกล่าว ทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตาม และดูแลนักเรียนได้อย่างดีรวมทั้ง ครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น
ข้อดี-ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Operation Efficiency)
2. เพิ่มผลผลิต (Function Effectiveness)
3. เพิ่มคุณภาพบริการลูกค้า (Quality Customer Service)
4. ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต (Product Creation and Enhancement)
5. สามารถสร้างทางเลือกเพื่อแข่งขันได้ (Altering the basic of competition)
6. สร้างโอกาสทางธุรกิจ (Identifying and Exploiting Business Opportunities)
7. ดึงดูดลูกค้าและป้องกันคู่แข่ง (Client Lock-In/Competitor Lock-Out)
ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
วงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วยหรือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริหาร ก็อาจจะต้องเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วย ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดช่องว่าง ผลกระทบต่อการศึกษาการประยุกต์ที่สำคัญ คือ การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI ) ซึ่ง CAI จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยมากขึ้นยิ่งเราผลิตบทเรียน CAI ออกมามากขึ้นเท่าไหร่ก็ทำให้เกิดช่องว่างมากเท่านั้น เพราะคนรวยสามารถหาซื้อคอมพิวเตอร์ไปใช้ในบ้านได้ และทำให้สามารถซื้อและยืม CAI ไปเรียน
แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศเราจะเห็นได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลหรือข่าวสารจนกลายเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคมไปแต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม ทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ผู้ที่สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านทางระบบ อิเล็คทรอนิคเมล์ (E-Mail) ได้อีกทางหนึ่งด้วย
การประเมินผลการใช้งาน
การประเมินเป็นการตรวจสอบความรู้ของผู้เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางต้องประเมินผู้เรียนหลายด้าน และการประเมินตัวสื่อจะประเมินด้านคุณภาพการออกแบบการเรียนการสอน การออกแบบหน้าจอ การใช้งาน รวมทั้งประสิทธิภาพของสื่อฯ ส่วนการประเมินการเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้สื่อจะประเมินผู้เรียนทั้งกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ในการทำงาน การปฏิบัติหรือการแสดงออกมาให้เห็น รวมทั้งผลงานสุดท้ายที่ผู้เรียนทำได้ วิธีการประเมินจะไม่ใช้แบบทดสอบหรือแบบสอบถามดังที่ผ่านมา แต่จะเป็นวิธีการหลายๆอย่าง เช่นการประเมินตามสภาพจริง การประเมินการปฎิบัติ การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน รวมทั้งการใช้แนวทางการให้คะแนนแบบรูบิคส์ ในการสร้างเครื่องมือประเมินการเรียนรู้ ให้ครอบคลุมชัดเจนมากขึ้น ซึ่งรูบิคส์มีบทบาทต่อการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง( อ้างอิงจาก เรื่องความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย กรมวิชาการ) ดังนั้นการที่เราจะใช้สื่อทางการศึกษา เราต้องมีความเข้าใจเรื่อง Technology Education ก่อนที่จะนำ education Technology มาใช้ในการศึกษา

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ
ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานา
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประเภท คือ
(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่
2.1 สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และนิทานพื้นบ้าน
2.2 สื่อกิจกรรม เช่น หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา เป็นต้น
ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการศึกษา
ทำให้ผู้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเข้าใจในเนื้อหาวิชานั้นได้ดีพัฒนาการเรียนที่ดีสำหรับผู้เรียนและผู้สอนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การศึกษานอกสถานที่จัดเป็นการสื่อสารประเภทที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากแหล่งวิทยาการโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นสถานที่สำคัญ วัตถุสิ่งของเหตุการณ์สำคัญ ๆ หรือบุคคลสำคัญที่ไม่สามารถนำมาสู่ห้องเรียนโดยตรง
การนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอน
การนำมาใช้กับการเรียนการสอน :คือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1. คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
2. วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไป ถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
3. เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
4. สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สื่อสารมวลชน

สื่อมวลชน
หมายถึง สื่อที่จะใช้ในการถ่ายทอดข่าวสารไปยังมหาชนได้ เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และภาพยนตร์

บทบาทหน้าของสื่อมวลชน
หน้าที่ของสื่อมวลชนสื่อมวลชนมีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้าหน้าที่สำคัญของสื่อมวลชนในประเทศที่กำลังพัฒนา


บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในสังคมไทยกล่าวคือ
ด้านบวก
1. สื่อมวลชนทำหน้าที่ให้ข่าวสารข้อมูลและให้ความรู้แก่ประชาชน เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในโลกและภายในประเทศ นอกจากนั้นในแง่สารคดี สื่อมวลชนยังให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านการแพทย์ สุขอนามัย และช่องทางประกอบอาชีพ เป็นต้น
2. สื่อมวลชนเป็นแหล่งความบันเทิงที่ปรากฎทั้งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ เป็นแหล่งที่ประชาชนบางกลุ่มติดตามกันตลอดต้องใช้คำว่าติดกันงอมแงม แต่ความบันเทิงก็เป็นนวนิยายที่สะท้อนถึงสังคมแต่ละยุคด้วย
3. สื่อมวลชนทำหน้าที่เป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน การโฆษณาสินค้า การประกาศแจ้งความเรื่องต่าง ๆ เช่น คนหาย งานศพ ตลอดจนการนำเสนอข่าวความยากไร้ของคนบางคน ทำให้การช่วยเหลือเมตตาจิต ล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำอย่างดียิ่งของสื่อมวลชน
4. สื่อมวลชนในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น มีส่วนช่วยในการวิเคราะห์ปัญหานำเสนอแนะนโยบาย รวมทั้งการต่อต้านนโยบายที่ไม่เหมาะสม ส่วนนี้สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการดำเนินนโยบายของรัฐ นโยบายใหญ่ที่สำคัญจะอยู่ในสายตาของสื่อมวลชน
5. สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้ได้บางครั้งในแง่ของการต่อสู้เพื่อความถูกต้องและยุติธรรม เช่น การใช้อำนาจในทางผิด ๆ จากรัฐบาล ข้าราชการ สื่อมวลชนจะทำหน้าที่ท้วงติง
6. สื่อมวลชนเป็นผู้นำทางความคิด (opinion leader) แนวความคิดของผู้เขียนบทความ บทวิเคราะห์ข่าว มีส่วนร่วมกระตุ้นให้เกิดความคิดในแง่ความถูกต้อง ความชอบธรรม ความยุติธรรม
7. สื่อมวลชนมีความสำคัญในแง่สัญลักษณ์อิสระและเสรีภาพ ย่อมสะท้อนถึงสิทธิเสรีภาพของคนในสังคม

ด้านลบ
1. การให้ข่าวบิดเบือน อาจเกิดความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เข้าใจผิด มีอคติ ทำให้ประชาชนหลงผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนของรัฐ ภายในสภาวะที่ขาด
ความเสรีในการเสนอข่าวสร้างความสับสนก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ
2. ค่านิยม แง่คิด การมองประเด็นผิด ๆ เช่น การแสดงออกเรื่องชาตินิยมแบบสุดกู่การมีลักษณะอนุรักษ์นิยมแบบขอบตก การชักจูงพฤติกรรมที่ไม่สมควร เช่น ดื่มเหล้าฉลองความเป็นหนุ่มนิยายน้ำเน่าเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา อาฆาต เปรียบเสมือนยาพิษป้อนสังคม
3. การมีจุดประสงค์ทางการเมืองของกลุ่มและพวก ไม่ใช่หน้าที่ของสื่อมวลชน หากแต่เป็นสื่อเฉพาะกลุ่ม สื่อมวลชนควรถือเป็นบริษัทมหาชนเพื่อความเป็นกลาง ไม่ควรถือการกระทำเป็นธุรกิจเต็มรูปแบบ เพราะกรณีดังกล่าวทำให้ต้องคำนึงถึงผลกำไรขาดทุนทำให้รักษาความเป็นกลางไว้ไม่ได้ยากที่จะทำหน้าที่ได้สมบูรณ์
4. การใช้ปากกาเป็นอาวุธโจมตีผู้อื่นด้วยเหตุผลส่วนตัว หรือการรับอามิสสินจ้างก่อให้เกิดการรับข่าวสารที่ไม่ตรงกับความจริง ชักจูงใจประชาชนในทางที่ผิด
5. การพาดหัวข่าวเพื่อการขายข่าวจนขาดความเคารพประชาชน ดูถูกภูมิปัญญาของประชาชน

สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมในปัจจุบัน
คือ นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ นักจัดรายการวิทยุ และคนทำทีวีที่อยู่หน้าจอ ซึ่งทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณชน เพราะสื่อมวลชนมีทำหน้าที่คอยสอดส่องความเป็นไปของบ้านเมืองเพื่อให้ประชาชนคนบริโภคข่าวสารได้รู้เห็นความจริงที่ถูกต้องในทุกแง่มุม คนทำสื่อไม่มีสิทธิที่จะไปชี้ถูกชี้ผิดลงไปในเนื้อข่าว หรือพาดหัวข่าว แต่จะต้องเสนอข่าวทั้ง 2 ด้าน 2 มุมให้ครบถ้วน และเสมอภาค เท่าเทียมกัน ดังเช่นปัญหา "ความเป็นกลาง" ในวิกฤตของชาติบ้านเมือง ในท่ามกลางปัญหาวิกฤตความแตกแยกขัดแย้งของผู้คนในชาติบ้านเมืองของเรา อันสืบเนื่องมาจากการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการเมืองกัน ระหว่าง "กลุ่มอำนาจเก่า" (กลุ่มเอาทักษิณ) กับ "กลุ่มอำนาจใหม่" (กลุ่มไม่เอาทักษิณ) ในช่วงที่ผ่านมา กระทั่งล่าสุด ถึงขั้นเกิดเป็น "ม็อบ" ตามความหมายที่แท้จริงซะที คือ เป็น "ฝูงชนบ้าคลั่ง" ที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยเหตุผล จนในที่สุด ก็นำพาไปสู่เหตุการณ์จราจลขว้างปาข้าวของ และทำร้ายทำลายกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บมากมายกว่า 300 คน เหตุเกิดที่บริเวณหน้าบ้านพักป๋าเปรม ย่านสี่เสาเทเวศน์ เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กลุ่มคนเหล่านี้ มักถูกตั้งคำถามเชิงตั้งข้อสงสัยอยู่บ่อยครั้งถึง "ความเป็นกลาง" ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรงทางการเมือง ดังเช่นที่เคยปรากฏเด่นชัดในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ ปี 2549 กระทั่งล่าสุด ในตอนนี้ ที่ยังมีฝุ่นละอองตกค้างจากเหตุการณ์วิกฤตที่ผ่านมา ถ้าสื่อมวลชนนำเสนอข่าวสารที่ผิดเพี้ยนไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงก็อาจให้ผู้รับได้รับข้อมูลข่าวสารแบบผิดๆ ได้เช่นกันฉะนั้นสื่อมวลชนที่ดีจะต้องนำเสนอข่าวสารที่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริงให้ได้มากที่สุด
สื่อมวลชนเปรียบเหมือนดาบสองคม
สื่อมวลชนเป็นคนทำข่าว และเสนอข่าว มีทำหน้าที่คอยส่องสะท้อน ความเป็นไปของบ้านเมือง และชีวิตผู้คนที่น่าสนใจ อย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชาชนคนบริโภคข่าวสารได้รู้เห็นความจริงในทุกแง่มุม ไม่ว่าเรื่องนั้น หรือข่าวนั้น หรือคนที่เป็นข่าวนั้น จะดี-ชั่ว-เลวทราม หรือถูก-ผิด อย่างไรก็ตามที คนทำสื่อไม่มีสิทธิที่จะไปชี้ถูกชี้ผิดลงไปในเนื้อข่าว หรือพาดหัวข่าว แต่จะต้องเสนอข่าวทั้ง 2 ด้าน 2 มุมให้ครบถ้วน และเสมอภาค เท่าเทียมกัน ส่วนคนทำข่าวจะมีความคิดความเห็นเช่นใดในข่าวนั้น ถ้าอยากจะแสดงความเห็น ก็ให้ไปแสดงความเห็น หรือชี้ถูกชี้ผิดได้ตามมุมมองแต่ละคน ที่มีสิทธิที่จะเห็นต่างกันได้ในคอลัมน์วิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ในเนื้อข่าว ที่ต้องรักษาความเป็นกลาง ชี้นำทางที่ถูกต้องดีงามให้แก่สังคมและคนบริโภคข้อมูลข่าวสารทำได้ดังนี้ การทำหน้าที่สื่อมวลชน ถึงจะสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง
การจัดเรตติ้งทางทีวี
การจัดเรตติ้งคนทั่วไปชอบคิดว่า การมีคนชมรายการเยอะเป็นการวัดผลความนิยมผ่านผู้ชมรายการ การใช้ประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจสื่อสารมวลชน เพราะรายการใดที่มีเรตติ้งผู้ชมมากผู้ผลิตรายการก็สามารถนำเครดิตไปหาผู้สนับสนุนรายการหรือสปอนเซอร์ได้ง่าย ถือเป็นธุรกิจบนสื่อสารมวลชนซึ่งเมื่อรายการมีโฆษณาเข้ามาก ก็จะติดกรอบว่ารัฐห้ามโฆษณาในทีวีเกินชั่วโมงละ 12 นาที ผู้ผลิตก็จะแปลงร่างโฆษณาเหล่านั้นให้เป็นโฆษณาแฝง อันเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ได้ผล ทำให้นึกถึงชีวิตของตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง Truman Show ที่ปรากฏว่ามีการแอบโฆษณาแฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของตัวละครเต็มไปหมด หรือ รายการถึงลูกถึงคน ของคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา จะเห็นถ้วยกาแฟ เสื้อ ป้าย เครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในรายการ ประกอบอยู่เป็นเรื่องปกติแต่การจัดเรตติ้ง ที่แท้จริงหมายถึง การสร้างระบบเรตติ้งเชิงคุณภาพที่ไม่ได้พูดถึงปริมาณคนดูแต่เป็นการจัดแบ่งช่วงชั้นของเนื้อหา เป็นเรตอย่างในอเมริกาจะมี เช่น เรต TV-G นั้นเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย มีความรุนแรงน้อยหรือไม่มีเลยขยับขึ้นมา ก็เป็นเรต TV-PG ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครอง อาจมีเนื้อหาบางตอนไม่เหมาะสมกับเด็ก ผู้ปกครองอาจดูร่วม กับเด็กมีคำหยาบและความรุนแรงบ้าง มีภาษาหรือสถานการณ์ที่เชิญชวนทางเพศ เช่น รายการตลก
การจัดประเภทรายการ เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ควรจะกำหนดเวลาด้วย ไม่เช่นนั้น เด็กก็จะยังได้รับภาพและเรื่องราวที่ไม่เหมาะสมอยู่ดี อย่างกลับบ้านมาตอนเย็นไม่มีผู้ใหญ่ดูทีวีด้วย แล้วใครจะแนะนำ อย่าว่าแต่เด็ก ผู้ใหญ่เองก็ดี ถ้าดูละครตบตี อิจฉาริษยา มากๆ ก็อาจติดมาใช้ในชีวิตจริงได้ ทำลายความสุขส่วนรวมของสังคมอย่างยิ่ง แทนที่จะคิดช่วยกัน กลายเป็นคิดแย่งกัน
ใครว่าประเทศพัฒนาแล้ว ไม่กำหนดเวลารายการออกรายการ
1. ประเทศพัฒนาแล้วที่พูดถึงนั้นก็มีปัญหาสังคม และปัญหาความรุนแรง ที่เป็นข่าวน่าสลดทั่วโลก เราต้องป้องกันไม่ให้เป็นแบบนั้น
2. ประเทศพัฒนาแล้วก็มีหลายประเทศ ทั้งที่กำหนดเวลาและไม่กำหนดเวลาก็มี แต่เท่าที่รู้ที่ญี่ปุ่น ที่ นิวซีแลนด์ ที่สิงคโปร์ ก็ไม่มีรายการไม่ดีหรือติดเรตโป๊ ในช่วงหัวค่ำเลย ที่สิงคโปร์ช่วงหัวค่ำไปจนถึงสี่ทุ่ม ก็จะมีหนังซีรี่ส์เป็นตอนๆ ออกตลกๆ ซึ่งก็จะสอดแทรกข้อคิด คำสอนดีๆให้คนทำดีเอาไว้ด้วย เช่นเรื่อง Maggi&Me ซึ่งตอนนี้ก็ยังฉายอยู่ ก็จะมีรายการแข่งร้องเพลง Singapore Idol ตอนหัวค่ำ หนังประเภทที่มีความรุนแรง หรือหนังคล้ายๆหนังน้ำเน่าบ้านเราก็จะไปอยู่หลัง 4ทุ่ม แม้แต่ CSI หลังซีรี่ส์สืบสวนสอบสวนของฝรั่ง ที่มีฉากรุนแรง การฆ่าตกรรมก็ถูกเอาไปฉายดึกถึง 5 ทุ่มตอนนี้ก็มีหลายสมาคมที่เกี่ยวกับสตรีและเด็ก อย่าง
สถาบันเด็กทำสื่อก็ ออกมาสนับสนุนความคิดการกำหนดเวลานี้เช่นกัน ท่านผู้อยู่ในวงการ ช่วยกันพัฒนาสังคมเถอะ อย่าให้สิ่งร้ายมาแปดเปื้อนเลย
แต่ช่วงนี้ บ้านเราก็ดีขึ้น รายการดีๆอย่าง รายการจุดเปลี่ยนก็เปลี่ยนเวลามาฉายตอนหัวค่ำแทน คนก็ได้มีโอกาสดูรายการดีๆ มากขึ้น แต่ก่อนรายการจุดเปลี่ยนฉายดึกมากประมาณ 5ทุ่ม เคยนั่งดูแล้วรู้สึกเสียดายว่า รายการดีๆอย่างนี้ ฉายดึกอย่างนี้ คนดูน้อย คนที่ดูก็จะตื่นไปทำงานกันอย่างไร กรุงเทพฯเรารถติดขนาดนี้ก็ทุกฝ่ายช่วยกันเถอะค่ะ ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ผลที่ยิ่งใหญ่ก็จะได้กับส่วนรวม และประเทศไทยของเรา

รายการทั่วไปเหมาะสำหรับผู้ชมทุกวัย ใช้รูปบ้านสีเขียวเป็นสัญลักษณ์แทนการสื่อความหมายของครอบครัว คือ รายการที่ทุกคนในบ้านสามารถชมได้
รายการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-6 ปี ใช้รูปเด็กยิ้มสีชมพู เป็นสัญลักษณ์แทนสาระความสนุกที่เด็กควรจะได้รับตามวัยที่เหมาะสม

รายการสำหรับเด็ก อายุ 2-12 ปี ใช้รูปจี๊กซอว์ เป็นสัญลักษณ์แทนการพัฒนาการของเด็กเมื่อดูรายการประเภทนี้แล้วเด็กต้องได้เสริมพัฒนาการพร้อมกับสาระ

รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำ ใช้รูปเครื่องหมาย ถูก-ผิด สีส้ม เป็นสัญลักษณ์แทนการสื่อความหมายว่า รายการประเภทนี้มีทั้งสองด้าน ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ควรแนะนำ

รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ชม อายุน้อยกว่า 13 ปี ใช้รูปเครื่องหมาย ถูก-ผิด สีส้ม เป็นสัญลักษณ์ แทนการสื่อความหมายว่า รายการประเภทนี้มีทั้งสองด้าน ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ควรแนะนำ

รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ชม อายุน้อยกว่า 18 ปี ใช้รูปเครื่องหมาย ถูก-ผิด สีส้ม เป็นสัญลักษณ์แทนการสืื่่อความหมายว่า รายการประเภทนี้มีทั้งสองด้าน ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ควรแนะนำ

รายการเฉพาะไม่เหมาะแก่เด็กและเยาวชนใช้รูปเครื่องหมายฟ้าผ่าสีแดงเป็นสัญลักษณ์ แทนการสื่อความหมายว่า รายการประเภทนี้ อันตรายไม่ควรให้เด็กและเยาวชนชม

SMS
ผลดีของ SMS
1.การทำ SMS มาใช้ในวงการตลาด (SMS Marketing) การใช้ SMS เพื่อเป็นเครื่องมือทำการสื่อสารการตลาดยุคใหม่ และสำหรับประเทศไทยก็มีผู้ให้ ซึ่งนำเอา SMS มาใช้ในวงการตลาดนั้นก็เพื่อการทำการส่งเสริมการขาย
2. การใช้เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนสื่อหลักให้มีการสื่อสารแบบสองทาง
คือการส่งข้อความ SMS ไปพูดคุย เสนอความคิดเห็น หรือแม้แต่ร่วมสนุกชิงรางวัล กับผู้ดำเนินรายการ ไม่ว่าจะเป็นทางสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ และ หนังสือพิมพ์ ซึ่งทั้ง 3 สื่อหลักนี้ไม่สามารถสื่อสารแบบสองทางกับผู้รับสื่อได้อย่างทันท่วงที
3. ใช้เป็นเครื่องมือเตือนภัยของรัฐบาล
การใช้มือถือเพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลและประชาชนได้เสนอให้มีการนำเทคโนโลยี SMS เป็นเครื่องมือเตือนภัยสำหรับคนไทยทางกระทรวงไอซีทีก็ได้ประสานงานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย ในการขอความร่วมมือการจัดทำระบบแจ้งเตือนผ่าน SMS ให้กับลูกค้าของผู้ให้บริการ
4. ใช้เป็นเครื่องมือในการบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ถือเป็นการใช้สื่อ SMS ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
ข้อเสียของ SMS
sms เป็นการมอมเมาเยาวชน เพราะส่วนใหญ่ผู้ส่งเป็นเด็ก และเยาวชน ที่ยังไม่มีวิจารณญาณ และไม่มีรายได้เป็นของตนเอง ต้องพึ่งผู้ปกครอง เด็กบางคนโทรวันละ 10 ครั้ง เพราะกลัวว่าข้อความที่ตัวเองส่งจะไม่ได้ขึ้นไปปรากฏอยู่บนหน้าจอ พอได้เห็นข้อความตัวเองบนทีวีก็ดีใจ เหมือนกับทางรายการให้การยอมรับข้อความของเขา ถือเป็นหลักจิตวิทยาอย่างหนึ่ง เพราะปัจจุบันเด็กไม่ต้องการดูทีวีอย่างเดียว แต่ต้องการเวทีแสดงออก และการส่ง SMS ก็ถือเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่ง นอกเหนือจากการจัดเวทีให้เด็กออกมาเต้น หรือร้องเพลง ซึ่งทัศนะที่ว่า SMS เป็นการมอมเมาเยาวชนนั้น ทางช่อง 7 ก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน แต่ถ้าไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมในส่วนนี้ สถานีโทรทัศน์ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ทำได้อย่างมากก็ดูแล ไม่ให้เลวร้ายลงไปอีก อยากให้รัฐบาลออกกฎหมายมาควบคุม ให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องมีกฎหมายบังคับเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะไม่เช่นนั้น หากช่องหนึ่งอนุญาต แต่อีกช่องไม่อนุญาต ผู้จัดรายการก็จะเทไปช่องที่อนุญาตกันหมด ซึ่งในความเป็นจริงมันเป็นเรื่องการทำธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ อีกเรื่องหนึ่งที่ดิฉันไม่เห็นด้วยก็คือการเรียกเก็บเงินค่าส่งข้อความราคา 9 บาท หรือ 6 บาท ของธุรกิจ SMS โดยเฉพาะเรื่องรายได้ที่จะเป็น 3 ส่วน คือ เจ้าของระบบ เช่น AIS ผู้ผลิตรายการ และสถานีโทรทัศน์ หากสถานีโทรทัศน์มีส่วนได้ส่วนเสีย ราคาส่งต่อ 1 ข้อความจะเป็น 9 บาท แต่หากแบ่งแค่เจ้าของระบบ กับผู้ผลิตรายการก็จะส่ง 6 บาทต่อข้อความ รายได้ก็เอาไปคนละ 50 : 50 ทางฝ่ายผู้ผลิตรายการก็จะแบ่งส่วนที่ตนได้ไปให้ผู้ทำคอนเทนต์ 25% โดยส่วนตัวดิฉัน ไม่เห็นด้วย
การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา
ความหมายของ “สื่อเพื่อการศึกษา”สื่อ หมายถึง สื่อประเภทต่างๆ เช่น วารสาร โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ เมื่อนำสื่อมาศึกษาจึงเรียกว่า “สื่อเพื่อการศึกษา” หมายถึง การนำสื่อมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน ประโยชน์ของการนำสื่อมาใช้ในการศึกษา
1. เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง
2.เครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ
3.สื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้
4.เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้
5.อุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน
6.สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน
7. อุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้
8. แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด
9. ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ
10. เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
11. เพื่อบริการผู้เรียน เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม
แนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษา
การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
สื่อมวลชนจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อระบบไฟฟ้า สื่อสองประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียนได้ทั้งสิ้น สื่อแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการศึกษา ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์
2. วิทยุ
3. โทรทัศน์และวีดิทัศน์
4. ภาพยนตร์
5. สื่อประสมสามารถจำแนกการใช้ออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน
2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขยายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง
สิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์ หมายถึง ข้อความ ข้อเขียน หรือภาพที่เกี่ยวกับแนวความคิด ข้อมูล สารคดี บันเทิง ซึ่งถ่ายทอดด้วยการพิมพ์ลงบนกระดาษ ฟิล์ม หรือวัสดุพื้นเรียบสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา หมายถึง สิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่างๆที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยบรรจุเนื้อหาสาระที่ดีมีประโยชน์และให้ความรู้ทั้งที่เป็นความรู้ ส่วนสิ่งพิมพ์เพื่อการสอน หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้เฉพาะอย่างตามหลักสูตรการเรียน ซึ่งอาจเย็บรวมเล่มหรือเป็นแผ่น ทั้งที่ใช้พิมพ์หรือเขียนประเภทของสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สิ่งพิมพ์ทั่วไป และสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ ได้แก่สิ่งพิมพ์ทั่วไป
1. หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์สามารถให้ประโยชน์ด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง ดังนี้ก. ช่วยฝึกทักษะในการอ่านข. ให้ผู้อ่านได้ศึกษา วิเคราะห์ และวิจารณ์ข่าวสารค. ให้ความรู้เบื้องต้นง. ให้ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ประจำวัน จ . เป็นเครื่องวัดระดับความรู้และความสนใจของชุมชนฉ. สามารถเก็บหนังสือพิมพ์เป็นหลักฐานในการค้นคว้า อ้างอิง
2. นิตยสาร วารสาร และจุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปเล่มของหนังสือที่ออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน หรือแล้วแต่ระยะเวลาสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา1. หนังสือตำรา เป็นสื่อที่พิมพ์เป็นเล่ม ประกอบด้วยเนื้อหาตามหลักสูตรการเรียนการสอนโดยอธิบายเนื้อหาวิชาอย่างละเอียด อาจมีภาพถ่ายหรือภาพเขียนประกอบเพื่อเพิ่มความสนใจของผู้เรียน2. แบบฝึกปฏิบัติ 3. พจนานุกรม4. สารานุกรม5. หนังสือภาพหรือภาพชุดต่างๆ6. วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย7. สิ่งพิมพ์ย่อส่วน หนังสือเก่าหรือชำรุดหรือหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากย่อมไม่สะดวกในการเก็บรักษา จึงอาศัยวิธีการเทคโนโลยีใยการทำสิ่งพิมพ์ย่อส่วน ได้แก่ก. ไมโครฟิล์ม เป็นการถ่ายหนังสือแต่ละหน้าลงบนม้วนฟิล์มข. ไมโครฟิช เป็นแผ่นฟิล์มแข็งขนาด 4 x6 นิ้ว สามารถบันทึกข้อความจากหน้าหนังสือโดยย่อเป็นกรอบเล็กๆ หลายๆ กรอบการใช้สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาจำแนกได้ 3 วิธี คือ1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิชาเรียน2. ใช้เป็นวัสดุการเรียนร่วมกับสื่ออื่นๆ3. ใช้เป็นสื่อเสริมในการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์สื่อสิ่งพิมพ์ทั้ง 3 วิธี ผู้สอนสามารถนำสิ่งพิมพ์ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ทั่วไปหรือเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะมาใช้ในการเรียนการสอน โดยพิจารณาตามลักษณะของสิ่งพิมพ์และลักษณะของการใช้ ดังนี้1. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะของหนังสือตำรา2. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อง่ายต่อการศึกษา3. สิ่งพิมพ์เสริมการเรียนการสอน เช่น แบบปฏิบัติ 4. สิ่งพิมพ์ทั่วไปๆ ไป เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์5. สิ่งพิมพ์ประเภทภาพชุด
วิทยุ วิทยุเป็นอุปกรณ์สื่อสารในการรับส่งข้อมูลทางด้านเสียงโดยใช้คลื่บแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สาย การใช้วิทยุเพื่อการสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาในประเทศไทยเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 โดยใช้ในและนอกระบบโรงเรียน ถ้าเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนเรียกว่า “วิทยุโรงเรียน” ถ้านอกระบบโรงเรียนเรียกว่า “วิทยุไปรษณีย์” เราเรียกการใช้วิทยุในการศึกษารวมเรียกว่า “วิทยุศึกษา”การใช้วิทยุเพื่อการศึกษา1.การสอนโดยตรง เป็นการใช้วิทยุเพื่อเป็นสื่อสอนโดยตรงในบางวิชาหรือบางตอนของบทเรียน รายการวิทยุที่ใช้สอนจึงเป็นการเสนอตามเนื้อหาบทเรียนในหลักสูตร การสอนโดยใช้วิทยุสามารถกระทำได้ดังนี้ก. ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน ข. ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ค. ใช้เป็นสื่อหลักในการศึกษาตามหลักสูตรง.ใช้เป็นสื่อเสริมในการศึกษาระบบเปิด ด้วยการใช้รายการวิทยุเป็นสื่อเสริมประเภทในระบบการศึกษาทางไกลจ. ใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกอบรม2.การเพิ่มพูนคุณค่าในการสอน เป็นการใช้รายการวิทยุเพื่อปรุงแต่งและเสริมคุณค่าของการสอนในบางวิชาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
โทรทัศน์การใช้โทรทัศน์การศึกษาและการสอน1. การสอนโดยตรง เป็นการใช้โทรทัศน์เพื่อเสนอรายการที่จัดทำขึ้นตามเนื้อหาในหลักสูตรในรูปแบบของโทรทัศน์การสอน ก. ใช้เป็นเครื่องมือในการสอนข. ใช้เป็นสื่อสอนแทนครูค.ใช้เป็นสื่อเพื่อเสริมความรู้ง. ใช้เป็นสื่อในการศึกษาระบบเปิดจ. เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในสังคม 2. การเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นมาเสนอแก่ผู้เรียนเพื่อเพิ่มความรู้และประสบการณ์ และเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางการเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
วีดิทัศน์แถบวีดิทัศน์เป็นวัสดุสำคัญที่สามารถใช้บันทึกภาพและเสียงไว้ได้พร้อมกันในแถบเทปในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และยังสามารถลบแล้วบันทึกใหม่ได้เช่นเดียวกับเทปบันทึกเสียง แถบวีดิทัศน์จะใช้กับเครื่องเล่นวีดิทัศน์ซึ่งต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อเล่นภาพและเสียงออกมา
ภาพยนตร์ภาพยนตร์ หมายถึง ภาพนิ่งเรียงติดต่อกันที่ถูกบันทึกลงบนม้วนฟิล์มด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์ เมื่อฉายฟิล์มไปที่จอภาพภาพยนตร์การศึกษา หมายถึง ภาพยนตร์ที่เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้ ข้อมูล เรื่องราว แนวคิด เหตุการณ์ ให้ผู้ชมได้รับความรู้จากเรื่องราวที่เสนอ โดยไม่จำกัดกลุ่มผู้ชมการใช้ภาพยนตร์เพื่อการสอน การใช้ภาพยนตร์ในชั้นเรียน ผู้สอนต้องตั้งจุดประสงค์ว่าจะใช้ภาพยนตร์เพื่อการสอนโดยตรงหรือเพื่อประกอบการสอน เพราะภาพยนตร์เรื่องเดียวอาจใช้เนื้อหาเพื่อสนองตามจุดประสงค์ที่แตกต่าง ในการใช้ภาพยนตร์นั้นอาจจะใช้ทั้งเรื่องหรือเลือกเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งมาใช้สอนก็ได้เพื่อความเหมาะสม ซึ่งผู้สอนควรยึดหลักการดังนี้1.ก่อนนำมาฉายในชั้นเรียน ผู้สอนควรทราบถึงรายละเอียดและความสำคัญของเนื้อเรื่องนั้นก่อน2.ควรมีการเตรียมพร้อมผู้เรียนเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการชมภาพยนตร์3. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมขณะฉายภาพยนตร์ซึ่งอาจทำได้โดยก. หยุดฉายภาพยนตร์เพื่อให้ผู้เรียนซักถามข. หยุดฉายภาพยนตร์เพื่อทดลองฝึกทักษะค. สอดแทรกคำถามให้ผู้เรียน4. ควรใช้ภาพยนตร์คู่กับสื่อๆ5. ใช้ภาพยนตร์สี6. ฉายภาพยนตร์บางตอนซ้ำ7. มีกิจกรรมให้ผู้เรียนทำหลังชมภาพยนตร์
สื่อประสมการใช้สื่อประเภทอื่นมาใช้ร่วมด้วยในลักษณะของ”สื่อประสม” มีการใช้ดังนี้ คือ1. สื่อหลัก โดยใช้สื่อมวลชนในการสื่อสารระหว่างผู้สอน2. สื่อเสริม
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกล
เป็นระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันคนละสถานที่แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยสื่อมวลชน2ประเภทคือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสิ่งพิมพ์การใช้สื่อมวลชนในการศึกษาทางไกล
1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำแนกเป็นสื่อประเภทเสียง และสื่อประเภทเสียงและภาพ
2. สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนได้ด้วยตนเอง อยู่ในรูปแบบของชุดการเรียนสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ให้ความสะดวกแก่ผู้เรียนและเอื้ออำนวยในการศึกษาทางไกล ดังนี้ก. เป็นสื่อที่ผู้เรียนสามารถใช้เวลาศึกษาได้ตามความสามารถข. สามารถทราบผลการศึกษาจากกิจกรรมและคำถามท้ายเรื่องค. สามารถทราบผลความก้าวหน้าของการศึกษาจากอาจารย์ง. สามารถตรวจสอบผลการปฏิบัติงานต่างๆจ. ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในความสามารถของตน
3. สื่อบุคคล คือ อาจารย์ ผู้เรียน ในการสื่อสารกันของสื่อบุคคลสามารถกระทำได้ในลักษณะต่อไปนี้ก. การติดต่อทางไปรษณีย์ข. การติดต่อทางโทรศัพท์ค. การจัดทบทวนในท้องถิ่นแต่ละแห่งโดยเชิญวิทยากรง. การเข้าศึกษากับอาจารย์สัญจรจ. การรวมกลุ่มของผู้เรียนในแต่ละแห่งเพื่ออภิปรายเนื้อหาฉ. การติดต่อปรึกษาหารือกันระหว่างเรียน หากจะมีคำถามว่า ในจำนวนสามส่วนตามความหมายของคณะกรรมการราชบัญฑิตยสถานแยกไว้นี้ ส่วนใดมีบทบาทต่อสังคมหรือกล่าวให้แคบเข้ามาก็คือ บทบาทต่อวัฒนธรรมของสังคมมากที่สุด คำตอบก็คือ ทั้งสามประการมีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ในสองประการแรกนั้น น่าจะหมายถึง เทคนิควิธีในการสื่อสารที่พัฒนาล้ำยุคขึ้นทุกวันหมายถึงองค์กรหรือสถาบันของสื่อชนิดหนึ่งชนิดใด เช่นสำนักพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หรือฐานส่งสัญญาณดาวเทียมเป็นสถานที่ เป็นวัตถุสิ่งของที่จับต้องได้และถูกสร้างขึ้นมาจากมันสมองของมนุษย์นั่นเอง แต่ความหมายของ "นักสื่อสารมวลชน" นั้นแจ่มชัดว่าเป็นบุคคลที่เป็นนักข่าว นักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ นักหนังสือพิมพ์ ผู้ประกาศข่าว หรือบุคคลอื่นใดที่ทำหน้าที่ในการประสานการถ่ายทอดหรือติดต่อสื่อสารเพื่อเผยแพร่ข่าวสารไปยังมวลชนกลุ่มกว้าง และนักสื่อสารมวลชนที่กำลังกล่าวถึงนี่เองที่เป็นผู้กุมทิศทางของการสื่อสารทั้งหมด เพราะเป็นบุคคลที่มีจิตวิญญาณ มีความรู้สึกนึกคิด และมีความรับผิดชอบต่อผลงานที่ได้สื่อสารออกไปไม่ว่าจะด้วยการสื่อสารแบบใดก็ตาม นักสื่อสารมวลชน หรือคนหนังสือพิมพ์ คนวิทยุ คนโทรทัศน์ จึงเป็นหัวใจหลักของการสื่อสารมวลชนทีเดียว ส่วนเครื่องมือ หรือเทคนิควิธีนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบให้การสื่อสารรวดเร็ว และสมบูรณ์ขึ้นเท่านั้นเอง หากจะมองให้ลึกลงไปอีกก็อาจจะมีคำถามติดตามมาอีกว่า แล้วสื่อชนิดใดสำคัญที่สุด คำตอบก็คือ สื่อทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ดาวเทียม หรืออื่นใดมีความสำคัญเท่าเทียมกัน แตกต่างตรงที่แต่ละประเภทมีจุดดีจุดด้อยไม่เหมือนกัน หนังสือพิมพ์อาจเป็นสื่อที่ใช้ติดต่อได้กว้างขวางมีระยะเวลาในการติดต่อนาน คือหยิบอ่านพรุ่งนี้มะรืนนี้ก็ได้ แต่วิทยุติดต่อได้เร็วกว่าและไปได้ทุกสถานที่ คนอ่านหนังสือไม่ออกก็ฟังได้ รวดเร็วพอกันแต่ปราศจากหลักฐานนอกจากจะอัด หรือเก็บ "สคริปต์" รายการนั้นไว้ส่วนโทรทัศน์มีความได้เปรียบที่ มีทั้งภาพ ทั้งเสียงและมีสีสัน มีความรวดเร็ว แต่ก็ติดตรงที่มีเวลา ในการสื่อสารจำกัดและบังคับผู้รับสารให้รับตามเวลา หมดเวลาสถานี ก็หยุดและเป็นสื่อที่เคลื่อนย้ายติดตัวลำบาก ทั้งยังติดปัญหารับ สัญญาณไม่เท่าเทียมกันแต่โทรทัศน์ก็เป็นสื่อที่มีผู้คาดหมายว่า จะมีอิทธิพลมากที่สุดในทศวรรษต่อ ๆ ไป ในต่างประเทศที่พัฒนาไปแล้ว อย่างสหรัฐหรืออังกฤษมีการสำรวจว่า ค่าความนิยมโทรทัศน์มาอันดับหนึ่ง แต่ในเอเชียหรือในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายนี้ยกให้วิทยุและหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์มาในลำดับต้น ๆ แต่คาดว่าในอนาคตในโทรทัศน์และดาวเทียมก็จะเข้ามามีบทบาทยิ่งขึ้นไปอีก แต่อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์นั้นก็มีการพัฒนาไปมาก การส่งข่าวสารก็ล้ำยุคขึ้นถึงขั้นส่งเพลทผ่านสัญญาณดาวเทียมกันแล้ว และจะว่าไป… "การอ่านหนังสือพิมพ์กลายเป็นวัฒนธรรมที่ดีของคนทั้งโลกไปแล้ว" ดังนั้น สื่อทุกชนิดจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ส่วนที่ว่าสื่อใดจะมีอิทธิพลมากหรือน้อยเป็นที่นิยมของสังคมนั้น ๆ หรือไม่อย่างไรนั้น นอกเหนือจากการศึกษาของคนในสังคมจะเป็นตัวกำหนดแล้ว หน้าที่และจิตสำนึกที่ดีของนักสื่อมวลชนของสื่อนั้น ๆ ต่างหากที่เป็นสิ่งกำหนดศัทธาประชาชน ดังนั้นการจะกล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนที่ควรมีต่อวัฒนธรรมของชาติต่อไปนี้จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเป็นการกล่าวถึงภาระหน้าที่ของสื่อสารมวลชนโดยภาพรวมซึ่งอาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปบ้าง
จากที่เราทราบกันดีแล้วว่า…
"วัฒนธรรม" ก็คือผลรวมของพฤติกรรม ที่เกิดจากการเรียนรู้ของคนในท้องถิ่นหรือพื้นที่นั้น ๆ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมานาน จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งซึ่งมีผู้แยกแยะวัฒนธรรมออกไปอีกหลายแบบหลายประเภท เช่น - วัฒนธรรมในการแต่งกาย - วัฒนธรรมในการครองเรือน - วัฒนธรรมการบริโภค - วัฒนธรรมของการแสดงพื้นบ้าน - วัฒนธรรมในการใช้ภาษาพูดและเขียน - วัฒนธรรมในด้านศิลปะหัตถกรรมท้องถิ่น - วัฒนธรรมในด้านความเป็นอยู่ในสังคม - ฯ ล ฯ และคงจะมีอีกหลายวัฒนธรรมที่จะมีการแตกย่อยออกไปอีก รวมความก็คือเป็นมรดกของประเทศเพราะขึ้นชื่อว่าวัฒนธรรมแล้ว ส่วนใหญ่จะให้ความหมายในทางบวกหรือสร้างสรรค์ เพราะวัฒนธรรมเป็นผลรวมของพฤติกรรมคนในสังคม เรามาดูว่าก่อนจะเกิดพฤติกรรมรวมได้ต้องมาจากค่านิยมเล็ก ๆ แล้วขยายตัวออกไป "ค่านิยม" ซึ่งเป็นศัพท์ค่อนข้างร่วมสมัยนี้ ว่าไปแล้วผู้ที่มีส่วนในการชี้นำมากที่สุดก็คือ "สื่อมวลชน" นั่นเอง ส่วนการชี้นำหรือโน้มน้าวให้เกิดค่านิยมจนขยายผลเป็นพฤติกรรมร่วมนั้นอาจมาจากเจตนาของสื่อมวลชนหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างที่ใคร่จะยกขึ้นมาก็คือ ก่อนนั้น คนไทยนุ่งผ้าม่วง นุ่งโจงกระเบน นิยมคาดผ้าขาวม้า กินหมากกินพลู แต่พอการสื่อสารจากตะวันตกเข้ามาหลังสงครามโลกครั้งที่สองภาพจากหนังสือพิมพ์ภาพยนตร์ค่อย ๆ เปลี่ยนคนไทยให้หันมาใส่เสื้อผ้าแบบตะวันตกแปรสภาพเป็นคนรุ่นใหม่ ใส่กางเกงขายาว ขาสั้น สวมกระโปรงสั้นบ้างยาวบ้าง กางเกงรัดรูปไม่รัดรูปล้วนมาจากการชี้นำของสื่อมวลชนสื่อต่าง ๆ ทั้งสิ้น หากจะถามต่อไปว่า แล้วทำไม ? เราต้องเร่งรณรงค์ส่งเสริมวัฒนธรรมกันอย่างจริงจัง เหตุผลก็คือ วัฒนธรรมมีธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งอื่น ๆ วัฒนธรรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นการค่อยยอมรับเข้ามาอย่างช้าๆ แต่เมื่อรับมาแล้วหรือเปลี่ยนไปแล้ว จะแก้ไขให้เหมือนเดิมได้ยากยิ่ง เพราะดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าจะถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งทันทีจนถึงวันนี้ เราไม่สามารถบอกให้เด็ก หรือวัยรุ่นหันไปสวมเสื้อคอกระเช้า นุ่งผ้าถุงไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือให้คุณตาคุณยายนุ่งโจงกระเบนคงทำได้ยากยิ่ง หากเราซึ่งเป็นสื่อมวลชนปล่อยให้ทุกอย่างลื่นไหลอย่างนี้ นับวันวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยเราจะหมดไปหรือถูกครอบงำจากวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ จนหมดสิ้น บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือไม่สำคัญ โดยมุ่งแต่จะหันไปพัฒนาเศรษฐกิจหรือให้ความสำคัญกับการเมืองมากจนเกินไป แต่อย่าลืมว่าวัฒนธรรมนี้คือชาติ คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นเอกลักษณ์ของบรรพบุรุษไทย ชาติที่เจริญต้องมีวัฒนธรรมของตนเองเป็นสิ่งบอกอายุความเจริญรุ่งเรืองในอดีตกาล

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร

ความสำคัญ
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่
ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้น)

ความเป็นมา
ประเทศไทยได้เริ่มใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปีแล้ว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเป็นเครื่อง IBM 1401 ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อจัดทำสถิติและสัมมโนประชากร ต่อมา พ.ศ. 2527 รัฐบาลได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติการจัดหาคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ พ.ศ. 2534 รัฐบาลได้ยุบคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ มีความคล่องตัวในการจัดหาคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และนิยมใช้แพร่หลายขึ้น พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้แต่งตั้งอนุกรรมการด้านต่างๆ 7 ด้านได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศ การวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสาร-สนเทศ การวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4
(พ.ศ. 2520-2524) รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม เข้ามาใช้ในการจัด การพัฒนา และเผยแพร่สารสนเทศให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ภายใต้การประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ การดำเนินการด้านนี้กล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้
1. พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น ได้นำระบบ Mainframe มาใช้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และขยายเครือข่าย On-line ไปยังกรมต่างๆ ในสังกัด 14 กรม รวมทั้งการเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้จัดหาอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานศึกษาธิการในระดับเขตการศึกษา ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ สำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
2. ศูนย์สารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย มีระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระดับ Mainframe และ Mini Computer และไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับการวางแผนและการบริหารกิจกรรมในทบวงมหาวิทยาลัย
3. สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ มีความก้าวหน้าในการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารการเรียนการสอน การทะเบียน การวิจัย และประเมินผล รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถาบันต่างๆ เช่น เครือข่าย Internet ไทยสาร CUNET และ PULINET
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา รับผิดชอบในการวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ

ช่องทางการสื่อสารข้อมูล
ระบบแบบเดินสายเคเบิล (Wired system) จะรวมถึงสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด ระบบเครือข่ายที่อุปกรณ์ต่างๆ อยู่ห่างกันไม่มากนัก สายสัญญาณที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จะมีชนิดต่าง ๆตามลักษณะเครือข่าย และความต้องการในการใช้งาน


สายคู่บิดเกลียวแบบมีชีลด์และไม่มีชีลด์ (Shielded and UnShielded Twisted-Pair Cable)
เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้มจำนวน 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว สายเกลียวคู่หนึ่งจะแทนช่องทางการสื่อสาร (Channel) ได้หนึ่งช่องทาง


สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
เป็นสายสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลไกลกว่าสายแบบคู่บิดเกลียวแต่มีราคาสูงกว่า ประกอบด้วยสวนของสายส่งข้อมูลที่เป็นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนอยู่ตรงกลาง จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำเพื่อเป็นสายกราวนด์และหุ้มด้วยฉนวนเป็นเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์


สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)
ประกอบด้วยใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลางของสาย และใช้ใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเป็น ตัวหุ้ม (cladding) และหุ้มด้วยฉนวนในชั้นนอกสุด ข้อเสียคือติดตั้งและบำรุงรักษายาก มีราคาแพงที่สุดในจำนวนสายสัญญาณที่กล่าวมา


ระบบไมโครเวฟ (Microwave system)
ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง เรียกว่าสัญญาณแบบ เส้นสายตา (Line of sight) สถานีหนึ่งจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้ประมาณ 30-50 กม.


ระบบดาวเทียม (Satellite systems)
ใช้หลักการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานี ต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ ใช้ดาวเทียมซึ่งลอยอยู่ในพิกัดที่แน่นอนเพียง 3 ดวง ข้อเสียที่สำคัญคือจะมี เวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ทำให้ฝ่ายรับได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาที่เกิดขึ้นจริง

ระบบอื่น ๆ
- ระบบอินฟาเรด (Infared) ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรงระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่ง รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย
- ระบบวิทยุ (Radio) ใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
- ระบบสเปคตรัมแถบกว้าง (Spread Spetrum) เป็นระบบคลื่นวิทยุที่ถูกพัฒนาเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนและการดักสัญญาณ