สาระ

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคออธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน
2. การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบ ตั้งแต่แบบง่ายๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct To Home : DTH )
3. เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่ายสคูลเน็ต (School Net)
4. การใช้งานห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่ง ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการให้การบริการในลักษณะเครือข่าย เช่น โครงการ PULINET (Provincial University Network) และโครงการ THAILINET (Thai Library Network) การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากขึ้น เช่น บริการยืมคืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุมการทดลอง ซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน ต่างผนวกความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปด้วยแทบทั้งสิ้น
6.การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กาแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือ ข้อมูลครู ซึ่งการมีข้อมูลดังกล่าว ทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตาม และดูแลนักเรียนได้อย่างดีรวมทั้ง ครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น
ข้อดี-ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Operation Efficiency)
2. เพิ่มผลผลิต (Function Effectiveness)
3. เพิ่มคุณภาพบริการลูกค้า (Quality Customer Service)
4. ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต (Product Creation and Enhancement)
5. สามารถสร้างทางเลือกเพื่อแข่งขันได้ (Altering the basic of competition)
6. สร้างโอกาสทางธุรกิจ (Identifying and Exploiting Business Opportunities)
7. ดึงดูดลูกค้าและป้องกันคู่แข่ง (Client Lock-In/Competitor Lock-Out)
ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
วงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วยหรือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริหาร ก็อาจจะต้องเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วย ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดช่องว่าง ผลกระทบต่อการศึกษาการประยุกต์ที่สำคัญ คือ การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI ) ซึ่ง CAI จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยมากขึ้นยิ่งเราผลิตบทเรียน CAI ออกมามากขึ้นเท่าไหร่ก็ทำให้เกิดช่องว่างมากเท่านั้น เพราะคนรวยสามารถหาซื้อคอมพิวเตอร์ไปใช้ในบ้านได้ และทำให้สามารถซื้อและยืม CAI ไปเรียน
แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศเราจะเห็นได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลหรือข่าวสารจนกลายเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคมไปแต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม ทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ผู้ที่สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านทางระบบ อิเล็คทรอนิคเมล์ (E-Mail) ได้อีกทางหนึ่งด้วย
การประเมินผลการใช้งาน
การประเมินเป็นการตรวจสอบความรู้ของผู้เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางต้องประเมินผู้เรียนหลายด้าน และการประเมินตัวสื่อจะประเมินด้านคุณภาพการออกแบบการเรียนการสอน การออกแบบหน้าจอ การใช้งาน รวมทั้งประสิทธิภาพของสื่อฯ ส่วนการประเมินการเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้สื่อจะประเมินผู้เรียนทั้งกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ในการทำงาน การปฏิบัติหรือการแสดงออกมาให้เห็น รวมทั้งผลงานสุดท้ายที่ผู้เรียนทำได้ วิธีการประเมินจะไม่ใช้แบบทดสอบหรือแบบสอบถามดังที่ผ่านมา แต่จะเป็นวิธีการหลายๆอย่าง เช่นการประเมินตามสภาพจริง การประเมินการปฎิบัติ การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน รวมทั้งการใช้แนวทางการให้คะแนนแบบรูบิคส์ ในการสร้างเครื่องมือประเมินการเรียนรู้ ให้ครอบคลุมชัดเจนมากขึ้น ซึ่งรูบิคส์มีบทบาทต่อการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง( อ้างอิงจาก เรื่องความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย กรมวิชาการ) ดังนั้นการที่เราจะใช้สื่อทางการศึกษา เราต้องมีความเข้าใจเรื่อง Technology Education ก่อนที่จะนำ education Technology มาใช้ในการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น: